วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562



Learning Log 11


Monday 25th  November 2019


The knowledge gained

             วันนี้เป็นการสอบสอนค่ะ โดยให้นักศึกษาเลือกหน่วยมาสอนเอง และเตรียมสื่อ เตรียมแผนมาด้วยค่ะ 




ร่างกายของเรา

อาหารหลัก 5 หมู่

อาหารที่มีปรระโยชน์ กับอาหารที่มีโทษ

การปฏิบัติตนในครอบครัว

สี Color

สัตว์บก สัตว์น้ำ

เล่นแล้วเก็บ

ผลไม้

ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์


Assessment


Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส

ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกัน

ตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง ไม่เครียด


Evaluate teachers  :  อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ 
ให้คำแนนำการสอน บอกวิธีต่างๆให้ได้นำไปใช้
ได้จริง 





Learning Log 10


Monday 18th  November 2019


The knowledge gained


วันนี้เรียนรู้เรื่อง

EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ


EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

 
Executive Functions (EFประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้

4.Focus Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ




Assessment

Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส

ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกัน

ตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง ไม่เครียด


Evaluate teachers  :  อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ 
ให้คำแนนำการสอน บอกวิธีต่างๆให้ได้นำไปใช้
ได้จริง 





Learning Log 9


Monday 7th  October 2019


The knowledge gained


แนวการสอนแบบโครงการ (Project Approach)


5.แนวการสอนแบบโครงการ  (Project Approach)

        การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียน

การสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก 

ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

อย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 

โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ 

แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้

ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก

ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

และจากแหล่งเรียนรู้


การสอนแบบโครงการมีที่มาอย่างไร?            การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการได้เริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19-20
เป็นความคิดริเริ่มของ William Heard Kilpatrick นักการศึกษาอเมริกัน ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ
John Dewey ที่สนับสนุนให้สร้างประสบการณ์ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้เด็กเกิดความตระหนัก
ในชุมชน นำมาประยุกต์ สอนเด็กถึงวิธีการใช้โครงการที่เกี่ยวกับ
ประสบการณ์จริงให้เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษามากกว่าการเตรียมเด็กเพื่ออนาคต
ในช่วงปี ค.ศ. 1934 Lucy Sprague Mitchell นักการศึกษาจาก The
Bank Street College Of Education นครนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อมและสอนครูให้รู้จักวิธีการ
ใช้โครงการ ซึ่งเป็นวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษา
แบงก์สตรีทมีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนแบบโครงการ ผลการทดลองใช้พบว่า
เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการวางแผนทำงานร่วมกัน ได้ตัดสินใจและเรียนรู้ในสิ่ง
ที่ต้องการเรียน ผลการเรียนรู้ส่งเสริมศักยภาพของเด็กทุกด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1945
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน Villa Cella ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ห่างจากตัว
เมือง Reggio Emilia 2-3 ไมล์ แม่บ้านกลุ่มหนึ่งร่วมมือกับ Malaguzzi นักการศึกษา
และกลุ่มผู้ปกครองจัดการศึกษาให้เหมาะกับเด็กที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางบ้าน
เรือนปรักหักพังเพราะผลจากสงครามโลก และทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี บทความ งานวิจัย
ข้อคิดเห็นจากศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทดลอง
ปฏิบัติ แล้ววิเคราะห์ สะท้อนผลการปฏิบัติ ทำการปรับปรุงจนได้แนวคิดและการปฏิบัติ
ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และประสบผลสำเร็จจน
เป็นที่รู้จักในกลุ่มยุโรปอเมริกาเหนือ และอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 Reggio Emilia
ได้กลายเป็นชื่อของแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย และ การ
เรียนรู้อย่างลุ่มลึกจากงานของโครงการ (Projects) เป็นกิจกรรมการสอนที่
โดดเด่นในโรงเรียนตามแนวคิด Reggio Emilia การจัดประสบการณ์แบบโครงการได้
รับการพัฒนารูปแบบให้ชัดเจนขึ้นโดย Katz ชาวอเมริกา และ Chard ชาวแคนาดา
ที่ได้ไปศึกษาดูงานการเรียนการสอน Project Approach จากโรงเรียนก่อน
ประถมศึกษาในเมือง Reggio Emilia ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี
และทั้งสองก็ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อว่า Engaging Children , s Mind : The
Project Approach ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ได้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ในระยะต่อมา สำหรับประเทศไทยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางการศึกษา
ได้จัดหลักสูตรที่กำหนดรายวิชา นวัตกรรมการศึกษา โดยให้นักศึกษาเรียนและทดลองจัดการสอน
แบบโครงการให้แก่เด็กปฐมวัยเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ต้องฝึก
ปฏิบัติ ตลอดจนศึกษาวิจัยในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ส่วนสถานศึกษาระดับปฐม วัยทั้งภาครัฐและเอกชนสนใจนำนวัตกรรมการสอนแบบ
โครงการไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน



การสอนแบบโครงการมีลักษณะอย่างไร?










        การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้ 
  • ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด 
  • มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
  • วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ 
    • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ 
    • ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร 
    • กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
    • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการ
    • สอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูล
    • พื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็ก
    • สามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ 
    • การอ่านหนังสือ เป็นต้น 
    • ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมิน
    • โครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้
    • เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา 
    • หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
  • มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน 
  • กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
  • กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ 
  • การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
  • เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก 
  • เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน 
  • สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ 
  • พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
  • ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ 
  • คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน
การสอนแบบโครงการมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
    การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้ 
  • เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้ 
  • ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ 
  • เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
  • เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
  • เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ 
  • รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ 
  • ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
  • สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง 
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ 
  • ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ
พ่อแม่ ผู้ปกครองจะนำการสอนแบบโครงการมาประยุกต์ใช้กับลูกได้อย่างไร?
            การจัดการสอนแบบโครงการนำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี โดยให้ลูกได้เรียนรู้
เรื่องที่เขาสนใจทั้งในแนวกว้างและแนวลุ่มลึกที่เขาสามารถเรียนได้ สนับสนุนลูกให้สืบหาคำตอบ
ด้วยตนเองโดยพ่อแม่หรือพี่ น้องวัยใกล้เคียงกันเป็นเพื่อนร่วมเรียน ด้วยวิธีการอ่านหนังสือ 
การวาดภาพ การสร้างเรื่อง การสังเกต การเขียน และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ 
ผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นญาติผู้ใหญ่ เช่น ย่า ยาย เพื่อนบ้าน นำลูกไปเรียนรู้ที่แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 
และให้ลูกประมวลความรู้ที่ค้นพบ สิ่งสำคัญ พ่อแม่จะต้องเข้าใจว่าการสอนแบบโครงการจะต้อง
อาศัยเวลา บางครั้งลูกอาจจะประมวลสรุปความรู้ไม่ได้ ต้องค้นหาสาเหตุ บางครั้งอาจจะเกิดจาก
เรื่องที่สนใจนั้นใช้เวลาศึกษายาวนาน หรือการรับรู้เรื่องราวขาดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม 
เมื่อลูกได้รับการส่งเสริมให้สืบค้นความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา พ่อแม่จะสังเกตพบว่า 
ลูกได้ใช้ภาษา ได้พัฒนาทักษะสังคม ได้พัฒนาความคิดผ่านการใช้คำถาม การแก้ปัญหา 
และได้ทักษะการสังเกต


Assessment


Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส

ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกัน

ตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง ไม่เครียด


Evaluate teachers  :  อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ 
ให้คำแนนำการสอน บอกวิธีต่างๆให้ได้นำไปใช้
ได้จริง 




วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562


Learning Log 8


Monday 23th  September 2019


The knowledge gained

วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้รับค่ะ

กลุ่มที่ 1 ทักษะพื้นฐาน EF ( แสดงกิจกรรมหลอด )
คำแนะนำอาจารย์ : ทำอย่างไรให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะ EF

กลุ่มที่ 2 ทักษะพื้นฐาน EF ( เพื่อนฉีกกระดาษ )
คำแนะนำอาจารย์ : การให้เด็กช่วยทำงานบ้าน
ประสบการณ์ที่มีคุณภาพมีผลต่อการดึงเอามาใช้

กลุ่มที่ 3 Project Approach ( นำเสนอเรื่องนม )
คำแนะนำอาจารย์ : ต้องมีการวางแผนจะไปซื้ออะไร
สุดท้ายเด็กต้องบอกครูได้ว่านมคืออะไร 
ต้องมีการประเมินจากผู้ปกครอง
เด็กต้องทำอะไรได้ ต้องทำอะไรเป็น
ทำไมถึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลุ่มที่ 4 STEM ( เรือดินน้ำมัน )
คำแนะนำอาจารย์ : ออกแบบเรืออย่างไร วางเหรียญแล้วต้องไม่จม

กลุ่มที่ 5 มอนเตสซอรี่ ( กิจกรรมวางบล็อกลงช่อง )
คำแนะนำอาจารย์ : จุดเด่นของ มอนเตสซอรี่ คืออะไร
เป้าหมาย คือ จะต้องเรียนรู้จากสิ่งของของเค้า

กลุ่มดิฉัน ไฮสโคป 


คำแนะนำอาจารย์ : ต้องมีการบันทึกว่าเด็กต้องวาดอะไร ต้องมีการวางแผน

ภาพกิจกรรมระหว่างเพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนองาน











ช่วงบ่ายอาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันทำเมนูอาหารจากไข่ค่ะ




เพื่อนๆมีความสุขมาก อิ่ม อร่อย ช่วยกันทำ ขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก อาจารย์จ๋าค่ะ

อาจารย์ให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ


แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ  (Waldorf)


        นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟ มีรากฐาน

มาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) โดย 

ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) โรงเรียน

แนววอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลก

ครั้งที่ 1 โดยการสนับสนุนของเอมิล มอลล์ (Emil

 Molt) การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีเป้าหมายเพื่อ

พัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูวอ

ลดอร์ฟจึงเริ่ม ต้นยามเช้าด้วยการมาแต่เช้าเพื่อ

เตรียมห้องเรียน และร่วมกันท่องบทกลอน เพื่อย้ำ

เจตจำนงความตั้งใจในการปฏิบัติอาชีพครู และบาง

ครั้งในบางโอกาส ในตอนเย็น ครูก็จะท่องกลอน

เพื่อนำพาจิตใจให้สงบ ครูวอลดอร์ฟรุ่นพี่ๆจะแนะนำ

ครูรุ่นน้องเสมอว่า หากเธอมีปัญหาที่แก้ไขได้ยาก

กับเด็กๆในห้องเรียนของเธอ ควรพาปัญหานี้กลับ

ไป หลับฝันไปกับปัญหานี้ เผื่อว่า...ในยามค่ำคืน 

โลกจิตวิญญาณที่เธอได้สัมผัสยามที่เธอหลับ จะ

ช่วยเธอได้..ด้วยเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ หาก

เริ่มต้นด้วยความตั้งใจ มีเจตจำนงอันมุ่งมั่นเพื่อจะ

ทำสิ่งนั้น การงานเหล่านั้นย่อมขับเคลื่อนต่อไปได้

เหมือนล้อหมุนได้ขยับขับออกจากที่จอดแล้ว

 ระหว่างทางเป็นประสบการณ์ที่น่าเก็บเกี่ยว 

เพลิดเพลินเผชิญอุปสรรคไปอย่างคนรู้ตัว ฝึกสติไป

กับการงานที่ทำตรงหน้า ยิ้มรับกับโชคชะตาที่ได้มา

เดินในเส้นทางสาย “ ครู ”



การศึกษาแนววอลดอร์ฟคืออะไร?

            นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟมี

รากฐานมาจากมนุษยปรัชญา 

(Anthroposophy)โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์

(Rudolf Steiner 1861-1925) ได้นำมาจัดการ

ศึกษาในโรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไป

สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย

(Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้

บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความ

จริง (Truth) แนวคิดของมนุษยปรัชญาที่เป็น

รากฐานสำคัญในการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ เชื่อว่า

เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะ

เห็นได้ว่า กาย (Body) เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้

ในโลก ส่วนจิตวิญญาณ (spirit) เป็นจิตเดิมแท้ของ

เด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน และเชื่อมโยงกันด้วย

วิญญาณ (Soul) พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยให้การ

เชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลม กลืน ความ

สำคัญของครูในอนุบาลวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่

จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood)

และภาวะกึ่งฝัน (Dreamy stated) ที่มีอยู่ในวัยเด็ก

การศึกษาจึงเสมือนการทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆ

ตื่นขึ้นมาในโลก หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้

ลงมาเกิด ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม

สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจน

เครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็ก

สามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ ตลอดจน

พลังธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ครูได้นำ

มาประสานในกิจกรรมต่างๆในอนุบาลวอลดอร์ฟ

อย่างมีศิลปะ เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติอัน

แท้จริงของโลก และแบ่งขั้นพัฒนาการของเด็ก

ดังนี้ 
  • (0 – 7 ปี) กาย (Body) พัฒนาผ่านพลัง เจตจำนง (Will) การมุ่งมั่นลงมือทำให้สำเร็จ
  • (7 – 14 ปี) จิต (Soul) พัฒนาผ่านความรู้สึก (Feeling) เข้าถึงความงาม และศิลปะแบบต่างๆ
  • (14 – 21 ปี) จิตวิญญาณ (Spirit) พัฒนาผ่านความคิด (Thinking) การตระหนักรู้ ในคุณธรรม ความดี 
        ครูอนุบาลยังต้องให้ความสำคัญในการจัดการ

ศึกษาให้เหมาะสมกับอายุและความสามารถตามวัย

ของเด็ก ให้เกิดความสม ดุลกัน เกณฑ์อายุของ

ระดับอนุบาลวอลดอร์ฟ คือ ก่อน 7 ขวบ หรือก่อน

ฟันแท้จะขึ้น มนุษยปรัชญายังได้เผยภาพลักษณ์

ของมนุษย์อันประกอบไปด้วย กาย 4 กาย ได้แก่

 ร่างกาย กายพลังชีวิต กายความรู้สึก กายตัวตน ถึง

แม้ว่ากายทั้ง 4 จะมาพร้อมกันเมื่อคนเราเกิดมาใน

โลก แต่ก็ค่อยๆเผยออกมาทีละกายทุกๆรอบ 7 ปี 

จนเด็กอายุ 21 ปี จึงมีกายทั้ง 4 ครบสมบูรณ์ หาก

ในระหว่างนั้น มีการสนับสนุนทางการศึกษาอย่างถูก

ต้องเหมาะสมแก่เด็ก จะยิ่งเป็นประ โยชน์ต่อการ

พัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในระดับอนุบาล

เป็นขั้นตอนที่กำลังสร้างร่างกายและบ่มเพาะกาย

พลังชีวิต การศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ควรส่งเสริม

พลังเจตจำนง (Will) ของเด็กและการรักษาจังหวะ

ในชีวิตประจำวัน (Rhythm of life) ของเด็กให้มี

ความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ มนุษย์ยังรับรู้โลกผ่าน

สัมผัส ทั้ง 12 แต่ในระดับอนุบาล เด็กๆรับรู้ด้วย

สัมผัส 4 อย่างขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สัมผัสรู้ที่ผิวกา

(Touch)สัมผัสรู้พลังชีวิต (Life)สัมผัสรู้การ

เคลื่อนไหว (Movement)สัมผัสรู้ความสมดุล

(Balance) ความรู้ด้านสัมผัสรู้ เป็นประโยชน์อย่าง

ยิ่ง เมื่อครูนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้

เด็กในอนุบาลวอลดอร์ฟ

การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีที่มาอย่างไร?

            ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โรงเรียนแห่ง

แรกตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของ เอมิล มอลล์ (Emil

 Molt) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบวอลดอร์ฟ

 แอสโทเรียล ที่สตุทการ์ท ประเทศเยอรมัน ถึงแม้

จะทำงานด้านอุตสาหกรรม แต่เขาก็เห็นด้วยกับ

ความคิดด้านมนุษยปรัชญาของ ดร. รูดอร์ฟ สไต

เนอร์ และต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมในเวลา

นั้น เขาได้เชิญรูดอร์ฟ สไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิด

ด้านมนุษยปรัชญาให้คนงานในโรงงานฟัง จึงเกิด

กลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกันว่า หากจะให้ความคิด

เช่นนี้เป็นจริงได้ ต้องให้เกิดขึ้นในคนรุ่นหลัง เขาจึง

จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในโรงงาน ชื่อโรงเรียนวอลดอร์ฟ

ดำเนินการสอนลูกหลานของคนงาน ตั้งแต่ปีค.ศ. 

1919 เป็นการศึกษาระดับประถม ซึ่งต่อมาภายหลัง

ได้ขยายแนวคิดมาในระดับอนุบาล จนบัดนี้กว่า 90

ปีแล้ว การศึกษาวอลดอร์ฟ ทั้งระดับประถมและ

อนุบาลได้แผ่ขยายไปทั่วโลก

บทบาทครู ( 3 R ) ได้แก่
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์
การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 
        มีคนกล่าวว่า ณ วันแรกที่ตัดสินใจส่งลูกเข้าโรงเรียนวอลดอร์ฟ นั่นก็หมายความว่า เราได้ให้อิสระทางความคิดแก่ลูกไปแล้ว ดังนั้นประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการศึกษาแนววอลดอร์ฟจึงมีดังนี้ 
  • เด็กมีอิสระ พัฒนาตนเต็มศักยภาพที่ตนมี 
  • เด็กมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลังและสร้างสรรค์ 
  • เด็กมีความเมตตา กล้าหาญ ใฝ่รู้ เอื้ออาทร 
        การศึกษาแนววอลดอร์ฟไม่ได้วัดความสำเร็จของการศึกษาจากผลการเรียนรู้ แต่มุ่งดึงศักยภาพ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนให้แสดงออกมา ทำให้เด็กค้นพบพลัง ความกระตือรือร้น และปัญญาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพสูงสุดของตัวเขาเอง


พ่อแม่ ผู้ปกครองจะนำการศึกษาแนววอลดอร์ฟมาประยุกต์ใช้กับลูกได้อย่างไร?
        ปัจจุบันปัญหาสังคมและภาวะวิกฤติด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิภาพและสิทธิพื้นฐาน ด้านสติปัญญาและความสามารถในการรู้คิด ล้วนมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อเด็กไทย เพื่อให้การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาลเป็นไปอย่างเหมาะสม พ่อแม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการเด็กตามธรรมชาติ หรือ Natural Childhood โดยภาพรวม เด็กอายุก่อน 7 ปี อยู่ในช่วงที่ร่างกายยังมีฟันน้ำนม และก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นเมื่อใกล้ 7 ปีนั้น ขอให้พ่อแม่ระมัดระวังสิ่งเร้าที่ไม่เหมาะสมจากสังคมที่ห้อมล้อมรอบตัวเด็ก กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน อย่าให้ลูกหลงใหลไปกับสิ่งที่จะทำลาย พลังเจตจำนง ( Will )ไปเสียโดยง่าย ด้วยสัญชาติญาณของความเป็นพ่อแม่ ขอให้ห้ามในสิ่งที่ควรห้าม และให้ในสิ่งที่ควรให้ เท่ากับได้ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัยกับภาวะกึ่งฝันตามธรรมชาติของวัยเด็ก ด้วยภาวะกึ่งฝันนี้ เด็กจะรับทุกเรื่องทั้งดีและไม่ดี โดยยังไม่สามารถแยกแยะเองได้ พ่อแม่จึงต้องกระทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ การเอาใจใส่ดูแลสังเกตเด็กอย่างละเอียด จะเห็นได้ว่าเด็กมีความเฉพาะแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน แม้เป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกันก็ยังแตกต่างกัน ถ้าพ่อแม่เข้าใจและให้การดูแลที่เหมาะกับลูกคนนั้นๆ เด็กก็จะมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ และที่สำคัญ ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงลูก

Assessment


Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกันตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ


Evaluate teachers  :  วันนี้อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ ให้คำแนะนำได้ดีมากค่ะ