วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562


Learning Log 8


Monday 23th  September 2019


The knowledge gained

วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้รับค่ะ

กลุ่มที่ 1 ทักษะพื้นฐาน EF ( แสดงกิจกรรมหลอด )
คำแนะนำอาจารย์ : ทำอย่างไรให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะ EF

กลุ่มที่ 2 ทักษะพื้นฐาน EF ( เพื่อนฉีกกระดาษ )
คำแนะนำอาจารย์ : การให้เด็กช่วยทำงานบ้าน
ประสบการณ์ที่มีคุณภาพมีผลต่อการดึงเอามาใช้

กลุ่มที่ 3 Project Approach ( นำเสนอเรื่องนม )
คำแนะนำอาจารย์ : ต้องมีการวางแผนจะไปซื้ออะไร
สุดท้ายเด็กต้องบอกครูได้ว่านมคืออะไร 
ต้องมีการประเมินจากผู้ปกครอง
เด็กต้องทำอะไรได้ ต้องทำอะไรเป็น
ทำไมถึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลุ่มที่ 4 STEM ( เรือดินน้ำมัน )
คำแนะนำอาจารย์ : ออกแบบเรืออย่างไร วางเหรียญแล้วต้องไม่จม

กลุ่มที่ 5 มอนเตสซอรี่ ( กิจกรรมวางบล็อกลงช่อง )
คำแนะนำอาจารย์ : จุดเด่นของ มอนเตสซอรี่ คืออะไร
เป้าหมาย คือ จะต้องเรียนรู้จากสิ่งของของเค้า

กลุ่มดิฉัน ไฮสโคป 


คำแนะนำอาจารย์ : ต้องมีการบันทึกว่าเด็กต้องวาดอะไร ต้องมีการวางแผน

ภาพกิจกรรมระหว่างเพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนองาน











ช่วงบ่ายอาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันทำเมนูอาหารจากไข่ค่ะ




เพื่อนๆมีความสุขมาก อิ่ม อร่อย ช่วยกันทำ ขอบคุณผู้สนับสนุนหลัก อาจารย์จ๋าค่ะ

อาจารย์ให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ


แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ  (Waldorf)


        นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟ มีรากฐาน

มาจากมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) โดย 

ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) โรงเรียน

แนววอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลก

ครั้งที่ 1 โดยการสนับสนุนของเอมิล มอลล์ (Emil

 Molt) การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีเป้าหมายเพื่อ

พัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ครูวอ

ลดอร์ฟจึงเริ่ม ต้นยามเช้าด้วยการมาแต่เช้าเพื่อ

เตรียมห้องเรียน และร่วมกันท่องบทกลอน เพื่อย้ำ

เจตจำนงความตั้งใจในการปฏิบัติอาชีพครู และบาง

ครั้งในบางโอกาส ในตอนเย็น ครูก็จะท่องกลอน

เพื่อนำพาจิตใจให้สงบ ครูวอลดอร์ฟรุ่นพี่ๆจะแนะนำ

ครูรุ่นน้องเสมอว่า หากเธอมีปัญหาที่แก้ไขได้ยาก

กับเด็กๆในห้องเรียนของเธอ ควรพาปัญหานี้กลับ

ไป หลับฝันไปกับปัญหานี้ เผื่อว่า...ในยามค่ำคืน 

โลกจิตวิญญาณที่เธอได้สัมผัสยามที่เธอหลับ จะ

ช่วยเธอได้..ด้วยเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ หาก

เริ่มต้นด้วยความตั้งใจ มีเจตจำนงอันมุ่งมั่นเพื่อจะ

ทำสิ่งนั้น การงานเหล่านั้นย่อมขับเคลื่อนต่อไปได้

เหมือนล้อหมุนได้ขยับขับออกจากที่จอดแล้ว

 ระหว่างทางเป็นประสบการณ์ที่น่าเก็บเกี่ยว 

เพลิดเพลินเผชิญอุปสรรคไปอย่างคนรู้ตัว ฝึกสติไป

กับการงานที่ทำตรงหน้า ยิ้มรับกับโชคชะตาที่ได้มา

เดินในเส้นทางสาย “ ครู ”



การศึกษาแนววอลดอร์ฟคืออะไร?

            นวัตกรรมการศึกษาแนววอลดอร์ฟมี

รากฐานมาจากมนุษยปรัชญา 

(Anthroposophy)โดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์

(Rudolf Steiner 1861-1925) ได้นำมาจัดการ

ศึกษาในโรงเรียนที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไป

สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย

(Body) จิต (Soul) และจิตวิญญาณ (Spirit)ให้

บรรลุถึง ความดี (Good) ความงาม (Beauty) ความ

จริง (Truth) แนวคิดของมนุษยปรัชญาที่เป็น

รากฐานสำคัญในการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ เชื่อว่า

เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะ

เห็นได้ว่า กาย (Body) เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้

ในโลก ส่วนจิตวิญญาณ (spirit) เป็นจิตเดิมแท้ของ

เด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน และเชื่อมโยงกันด้วย

วิญญาณ (Soul) พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยให้การ

เชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลม กลืน ความ

สำคัญของครูในอนุบาลวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่

จะเข้าใจ “เด็กตามธรรมชาติ” (Natural Childhood)

และภาวะกึ่งฝัน (Dreamy stated) ที่มีอยู่ในวัยเด็ก

การศึกษาจึงเสมือนการทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆ

ตื่นขึ้นมาในโลก หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้

ลงมาเกิด ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม

สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจน

เครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็ก

สามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ ตลอดจน

พลังธรรมชาติของโลก คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ครูได้นำ

มาประสานในกิจกรรมต่างๆในอนุบาลวอลดอร์ฟ

อย่างมีศิลปะ เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงธรรมชาติอัน

แท้จริงของโลก และแบ่งขั้นพัฒนาการของเด็ก

ดังนี้ 
  • (0 – 7 ปี) กาย (Body) พัฒนาผ่านพลัง เจตจำนง (Will) การมุ่งมั่นลงมือทำให้สำเร็จ
  • (7 – 14 ปี) จิต (Soul) พัฒนาผ่านความรู้สึก (Feeling) เข้าถึงความงาม และศิลปะแบบต่างๆ
  • (14 – 21 ปี) จิตวิญญาณ (Spirit) พัฒนาผ่านความคิด (Thinking) การตระหนักรู้ ในคุณธรรม ความดี 
        ครูอนุบาลยังต้องให้ความสำคัญในการจัดการ

ศึกษาให้เหมาะสมกับอายุและความสามารถตามวัย

ของเด็ก ให้เกิดความสม ดุลกัน เกณฑ์อายุของ

ระดับอนุบาลวอลดอร์ฟ คือ ก่อน 7 ขวบ หรือก่อน

ฟันแท้จะขึ้น มนุษยปรัชญายังได้เผยภาพลักษณ์

ของมนุษย์อันประกอบไปด้วย กาย 4 กาย ได้แก่

 ร่างกาย กายพลังชีวิต กายความรู้สึก กายตัวตน ถึง

แม้ว่ากายทั้ง 4 จะมาพร้อมกันเมื่อคนเราเกิดมาใน

โลก แต่ก็ค่อยๆเผยออกมาทีละกายทุกๆรอบ 7 ปี 

จนเด็กอายุ 21 ปี จึงมีกายทั้ง 4 ครบสมบูรณ์ หาก

ในระหว่างนั้น มีการสนับสนุนทางการศึกษาอย่างถูก

ต้องเหมาะสมแก่เด็ก จะยิ่งเป็นประ โยชน์ต่อการ

พัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในระดับอนุบาล

เป็นขั้นตอนที่กำลังสร้างร่างกายและบ่มเพาะกาย

พลังชีวิต การศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ควรส่งเสริม

พลังเจตจำนง (Will) ของเด็กและการรักษาจังหวะ

ในชีวิตประจำวัน (Rhythm of life) ของเด็กให้มี

ความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ มนุษย์ยังรับรู้โลกผ่าน

สัมผัส ทั้ง 12 แต่ในระดับอนุบาล เด็กๆรับรู้ด้วย

สัมผัส 4 อย่างขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สัมผัสรู้ที่ผิวกา

(Touch)สัมผัสรู้พลังชีวิต (Life)สัมผัสรู้การ

เคลื่อนไหว (Movement)สัมผัสรู้ความสมดุล

(Balance) ความรู้ด้านสัมผัสรู้ เป็นประโยชน์อย่าง

ยิ่ง เมื่อครูนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้

เด็กในอนุบาลวอลดอร์ฟ

การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีที่มาอย่างไร?

            ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โรงเรียนแห่ง

แรกตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของ เอมิล มอลล์ (Emil

 Molt) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบวอลดอร์ฟ

 แอสโทเรียล ที่สตุทการ์ท ประเทศเยอรมัน ถึงแม้

จะทำงานด้านอุตสาหกรรม แต่เขาก็เห็นด้วยกับ

ความคิดด้านมนุษยปรัชญาของ ดร. รูดอร์ฟ สไต

เนอร์ และต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมในเวลา

นั้น เขาได้เชิญรูดอร์ฟ สไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิด

ด้านมนุษยปรัชญาให้คนงานในโรงงานฟัง จึงเกิด

กลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกันว่า หากจะให้ความคิด

เช่นนี้เป็นจริงได้ ต้องให้เกิดขึ้นในคนรุ่นหลัง เขาจึง

จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในโรงงาน ชื่อโรงเรียนวอลดอร์ฟ

ดำเนินการสอนลูกหลานของคนงาน ตั้งแต่ปีค.ศ. 

1919 เป็นการศึกษาระดับประถม ซึ่งต่อมาภายหลัง

ได้ขยายแนวคิดมาในระดับอนุบาล จนบัดนี้กว่า 90

ปีแล้ว การศึกษาวอลดอร์ฟ ทั้งระดับประถมและ

อนุบาลได้แผ่ขยายไปทั่วโลก

บทบาทครู ( 3 R ) ได้แก่
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์
การศึกษาแนววอลดอร์ฟมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 
        มีคนกล่าวว่า ณ วันแรกที่ตัดสินใจส่งลูกเข้าโรงเรียนวอลดอร์ฟ นั่นก็หมายความว่า เราได้ให้อิสระทางความคิดแก่ลูกไปแล้ว ดังนั้นประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการศึกษาแนววอลดอร์ฟจึงมีดังนี้ 
  • เด็กมีอิสระ พัฒนาตนเต็มศักยภาพที่ตนมี 
  • เด็กมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลังและสร้างสรรค์ 
  • เด็กมีความเมตตา กล้าหาญ ใฝ่รู้ เอื้ออาทร 
        การศึกษาแนววอลดอร์ฟไม่ได้วัดความสำเร็จของการศึกษาจากผลการเรียนรู้ แต่มุ่งดึงศักยภาพ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนให้แสดงออกมา ทำให้เด็กค้นพบพลัง ความกระตือรือร้น และปัญญาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพสูงสุดของตัวเขาเอง


พ่อแม่ ผู้ปกครองจะนำการศึกษาแนววอลดอร์ฟมาประยุกต์ใช้กับลูกได้อย่างไร?
        ปัจจุบันปัญหาสังคมและภาวะวิกฤติด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิภาพและสิทธิพื้นฐาน ด้านสติปัญญาและความสามารถในการรู้คิด ล้วนมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อเด็กไทย เพื่อให้การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาลเป็นไปอย่างเหมาะสม พ่อแม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการเด็กตามธรรมชาติ หรือ Natural Childhood โดยภาพรวม เด็กอายุก่อน 7 ปี อยู่ในช่วงที่ร่างกายยังมีฟันน้ำนม และก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นเมื่อใกล้ 7 ปีนั้น ขอให้พ่อแม่ระมัดระวังสิ่งเร้าที่ไม่เหมาะสมจากสังคมที่ห้อมล้อมรอบตัวเด็ก กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน อย่าให้ลูกหลงใหลไปกับสิ่งที่จะทำลาย พลังเจตจำนง ( Will )ไปเสียโดยง่าย ด้วยสัญชาติญาณของความเป็นพ่อแม่ ขอให้ห้ามในสิ่งที่ควรห้าม และให้ในสิ่งที่ควรให้ เท่ากับได้ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัยกับภาวะกึ่งฝันตามธรรมชาติของวัยเด็ก ด้วยภาวะกึ่งฝันนี้ เด็กจะรับทุกเรื่องทั้งดีและไม่ดี โดยยังไม่สามารถแยกแยะเองได้ พ่อแม่จึงต้องกระทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ การเอาใจใส่ดูแลสังเกตเด็กอย่างละเอียด จะเห็นได้ว่าเด็กมีความเฉพาะแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน แม้เป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกันก็ยังแตกต่างกัน ถ้าพ่อแม่เข้าใจและให้การดูแลที่เหมาะกับลูกคนนั้นๆ เด็กก็จะมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ และที่สำคัญ ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงลูก

Assessment


Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกันตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ


Evaluate teachers  :  วันนี้อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ ให้คำแนะนำได้ดีมากค่ะ


Learning Log 7


Wednesday 11th  September 2019


The knowledge gained

วันนี้เป็นวันพุธ เรียนชดเชยวันจันทร์ที่ผ่านมาค่ะ วันนี้อาจารย์ให้นำคำศัพท์ของตนเองจากวิจัยออกมาให้เพื่อนๆได้รู้ด้วยค่ะ คนละ 2 คำ และก็เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับวิชาชีพค่ะ 




คำศัพท์...........

inconsistent - ไม่แน่นอน
improvement - การปรับปรุง
activities - กิจกรรม
language - ภาษา
mathematical - คณิตศาสตร์
classifying - การจำแนกประเภท
anomaly - ความผิดปกติ
cluster - กลุ่ม
social interaction - ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
communicative - การสื่อสาร
lalling stage - การแสดงเวที
participation - การมีส่วนร่วม
ability - ความสามารถ
media - สื่อ
invitation - คำเชิญ
parental - ผู้ปกครอง
experimental - การทดลอง
interviewed - สัมภาษณ์
affiliate - เข้าร่วม
instruments - เครื่องมือ
encourage - ส่งเสริม
connected - เกี่ยวข้อง
ethics - จริยธรรม
method - วิธี



ต่อมาอาจารย์พูดถึง การสอนแบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่   Montessori  หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา

          การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถ นั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

ปรัชญาและหลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่          

1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือในสภาพที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ เราต้องยอมรับนับถือเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ควรจัดการศึกษาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และความต้องการตามธรรมชาติของเขา โดยการพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก

2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้ มนุษย์เรานี้เป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง และเปรียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ซึ่งจะซึมซาบข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เด็กใช้จิตในการหาความรู้ ซึมซาบเอาสิ่งต่างๆ เข้าไปในจิตของตนเองได้ ( the absorbent mind ) ในการพัฒนาของจิตที่ซึมซาบได้มีทั้งระดับที่เราทำไปโดยที่รู้สึกตัว และโดยไม่รู้สึกตัว อายุตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซาบโดยไร้ความรู้สึก โดยการพัฒนาประสาทที่ใช้ในการเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กจะซึมซาบทุกสิ่งทุกอย่าง

3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต คือ คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด สำหรับการเรียนรู้ในระยะแรกเป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา และเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างดี ครูจะต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด


4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่างมี จุดหมาย การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมเช่นนี้เพื่อให้เด็กได้มีอิสระจากการควบคุมของ ผู้ใหญ่ เด็กจะได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองบ้าง

5. การศึกษาด้วยตนเอง เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียม ไว้อย่างสมบรูณ์ การมีอิสระนี้มอนเตสซอรี่กล่าวว่า ไม่ใช่สัญลักษณ์ของเสรีภาพเท่านั้น แต่หมายถึงเส้นทางไปสู่การศึกษา เด็กมีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้ ระเบียบวินัยของชีวิตโดยการมีอิสระภาพในการทำงานด้วยตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

          การศึกษาด้วยตนเอง ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในวงการศึกษา และควรจะเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลางในการเรียน

จุดมุ่งหมายของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
          จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ คือ “ ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย “ สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขา ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการภายในความรู้สึกของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของชีวิต

          มอนเตสซอรี่ กล่าวย้ำถึงสิทธิของเด็กในการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาในการเรียน สิทธิที่จะมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตัวของเขาเอง และก็เรียกร้องสิทธิในการที่จะมีสภาพการทำงานที่เหมาะสม  เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเอง และความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ เด็กเรียนรู้ในการที่จะรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องแรก แล้วก็ต่อสภาพการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เขาได้พบตัวของเขาเอง

          การพัฒนาการทางสังคมสำเร็จได้ ก็ด้วยการมีชีวิตทางสังคมที่แท้จริงในห้องเรียน เด็กเรียนรู้ที่จะทำหน้าที่ของแต่ละบุคคล และในสภาพของการเป็นสมาชิกของกลุ่ม และมีส่วนร่วมในการที่จะต้องรับผิดชอบ และรู้จักที่จะรอคอยความสำเร็จของการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และการปรับตัวทางด้านสังคมมีส่วนร่วมอยู่มาก บุคลิกภาพทั้งหมดของเด็กจะได้รับการพัฒนา … สติปัญญา ความสามารถในการแยกแยะ ความคิดริเริ่ม และการเลือกอย่างอิสระ มีอารมณ์ที่เหมาะสม เด็กได้รับการฝึกให้มีคุณภาพพื้นฐานทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นพลเมืองดี

หลักสูตรของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

          วิถีทางของการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น เป็นหลักการที่คำนึงถึงเด็ก ความต้องการของเด็กในการเรียน ได้มีการตระเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เด็กได้ทำงานด้วยตนเอง สิ่งแวดล้อม และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ นั้น ได้จัดระบบไว้เพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเอง โปรแกรมจัดเอาไว้ให้เด็กได้เป็นผู้เรียนที่มีอิสระ การควบคุมความผิดพลาดในการทำงานก็ด้วยการใช้วัสดุเหล่านั้นเอง และสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้ให้นี้เองเป็นตัวที่ทำให้เด็กมีอิสระ

          มอนเตสซอรี่เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้ เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
หลักสูตรพื้นฐาน สำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่:การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education) การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) และการตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

          โรงเรียน ที่ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่ดำเดินไปในโรงเรียน มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมดโดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาท สัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย

          อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเลขาคณิตสัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย ใช้ดินสอสีลากไปตามกรอบแผ่นภาพโลหะ และเติมลายเส้นไปในกรอบแผ่นภาพโลหะที่ว่างเอาไว้ ประdv[โดยใช้ตัวอักษรต่างๆ และเขียนคำลำดับจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมนี้ เป็นอุปกรณ์การเรียนในการทำงาน ครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตาม ลำดับยากง่าย หรือตามที่นกเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ ….” นี่คือ แขนงไม้ ”

ขั้นที่ 2 รู้จักชื่อของสิ่งของ …” หยิบแขนงไม้มาให้ครูซิ ”

ขั้นที่ 3 จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์ …” นี่คือ อะไร ”


          ขั้นตอนนี้จะใช้เมื่อเด็กเรียนรู้ชื่อของอุปกรณ์ คุณภาพ หรือประสบการณ์ บทเรียนนั้นจะมีลักษณะสั้น ง่าย และเป็นปรนัย ถ้าเด็กหยิบอุปกรณ์ไม่ถูกก็ต้องหยิบออกไปแล้วให้เด็กรอโอกาสทำต่อไป

วิธีการสอนสามขั้นตอน ( The Three-Period Lesson )



          เป็นวิธีการที่ใช้สำหรับสอนความคิดรวบยอดใหม่ด้วยการทำซ้ำ เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจในแบบฝึกหัดที่ครูสาธิตให้ดูได้ดีขึ้น การสอนนี้ยังช่วยให้ครูสังเกตเห็นว่าเด็กสามารถเข้าใจ และซึมซาบสิ่งที่สาธิตให้เด็กดูได้ว่องไวแค่ไหน วิธีการสอนสามขั้นตอนนี้ใช้กับการสาธิตขั้นตอน เมื่อเด็กไม่เข้าใจขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะต้องเริ่มสาธิตให้ดูใหม่ครูต้อง แน่ใจว่า เด็กเข้าใจในสิ่งที่ทำให้ดูแล้วจึงจะดำเนินขั้นต่อไป

วิธีการสอนสามขั้นตอนดังกล่าว Hainstock อธิบายไว้ ดังนี้
          ขั้นแรก สังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ( Recognition of Identity ) ทำให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับชื่อของสิ่งนั้นได้ “ นี่ คือ …”

          ขั้นสอง สังเกตเห็นความแตกต่าง ( Recognition of Contrasts ) มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า “ หยิบ …”

          ขั้นสาม เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่มีความคล้ายคลึงกัน ( Discrimination Between Similar Objects ) ขั้นตอนนี้เพื่อที่จะได้ทราบว่าเด็กจำชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือเปล่า เช่น ชี้ที่ของหลายๆ สิ่ง แล้วถามว่า “ อันไหน คือ …



Assessment


Self-assessment : มีความสุขตั้งใจเรียน สดใส ไม่เครียดค่ะ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกันตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง ( แต่วันนี้เพื่อนๆมาเรียนกันน้อยค่ะ )


Evaluate teachers  :  วันนี้อาจารย์อธิบายสอนเข้าใจ อาจารย์พูดจาสุภาพ แต่งกายเรียบร้อยค่ะ




วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562


Learning Log 6


Monday 9th  September 2019


The knowledge gained
*วันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนเพื่อนออกมาสอบ และอาจารย์ก็ให้คำแนนำ กลับไปปรับปรุงแกไข
*อาจารย์พูดถึงเรื่องการเคาะ เคาะช้า เคาะเร็ว ต้องให้เห็นจังหวะที่แตกต่าง

*เกร็ดความรู้ จังหวะเคาะคืออะไร?

จังหวะเคาะ (Beat) เป็นหน่วย

บอกช่วงเวลาของดนตรี ปฏิบัติ

โดยการเคาะจังหวะให้ดําเนิน

ไปอย่างสมํ่าเสมอขณะที่เล่น

ดนตรี จนกว่าจะจบบทเพลง

*ถ้าจังหวะเร็ว ต้องระวังอย่าให้ชนกัน
*การบ้านคือ คัดคำคล้องจอง ข้าวทุกจาน

*ภาพกิจกรรมในห้องค่ะ








Assessment

Self-assessment : มาเรียนตามตารางเวลา ฟังที่อาจรย์บอก ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ

Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน มาเรียนกันตรางตามเวลา มีความสุข สดใส ร่าเริง ไม่เครียด


Evaluate teachers  :  วันนี้อาจารย์มาสายนิดนึงค่ะ แต่อาจารย์ก็สอนเต็มที่ อธิบายเนื้อหา ออกมาแสดงกิจกรรมใหดูได้เข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ